รายการบล็อกของฉัน

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

สร้างองค์ความรู้ในการออก สหกิจศึกษา

โปรแกรม Adobe After Effects    


      Adobe After Effects เป็นซอฟต์แวร์ชั้นนำในตลาดสำหรับการสร้างเอฟเฟกต์พิเศษ
 (special effects) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอฟเฟกต์ประเภทกราฟิกเคลื่อนที่ และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
ในแง่ของความรู้สึกแล้ว Adobe After Effects นั้นคล้ายๆ กับ Photoshop
ในส่วนของวิดีโอ ซึ่งมันจะมีเครื่องมือต่างๆ ที่คล้ายกับ Image Editor ยอดนิยมของ Adobe
นั่นเอง แต่จะดัดแปลงในส่วนของวิดีโอเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น หนึ่งในเครื่องมือใหม่ที่สุดก็คือ RotoBrush นั่นเอง ซึ่งมันจะทำงานคล้ายกับ Magic Wand ของ Photoshop
ซึ่งจะยอมให้คุณเลือก Silhouettes และวางตัวละครลงในพื้นหลังชนิดต่างๆ ได้
โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Chroma screen เลย
Adobe After Effects นั้นมาพร้อมกับเครื่องมือสำหรับวิดีโอโดยเฉพาะ (video-specific tools)
อีกจำนวนมาก เช่น Auto-Keyframe ซึ่งจะสร้างเฟรมหลัก (key frames)
ให้คุณได้อย่างอัตโนมัติในที่ที่คุณใช้ Video Effect และ Mesh Warp Effect ในภาพ 3 มิติ
 ซึ่งต้องขอบคุณคุณสมบัติดังกล่าวที่ทำให้คุณสามารถสร้างภาพวิดีโอแบบแปลกๆ ได้
แต่ถ้าจะมีอะไรที่โดดเด่นเป็นพิเศษใน Adobe After Effects นั่นก็คงจะเป็นปลั๊กอินที่เป็น Third-party อย่าง Mocha เป็นต้น โดยปลั๊กอินตัวนี้เป็นระบบติดตามที่มีความก้าวหน้า (advanced tracking system)
ที่ช่วยคุณสร้างและปรับเปลี่ยนฉากต่างๆ ได้โดยสะดวก ในขณะที่ปลั๊กอินอีกตัวหนึ่งอย่าง Color Finesse นั้น ก็ช่วยให้คุณสามารถจัดการกับสีภายในวิดีโอของคุณได้แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลย
เวอร์ชันล่าสุดของ Adobe After Effects ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
 แต่ข้อเสียของมันเรื่องหนึ่งก็คือ ในตอนนี้มันใช้ได้เฉพาะบน
คอมพิวเตอร์ที่ทำงานในระดับ 64 บิตเท่านั้น
Adobe After Effects เป็นโซลูชันที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสามารถอย่างครบเครื่อง

 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกราฟิกที่เคลื่อนไหว และเอฟเฟกต์พิเศษของวิดีโอ



ข้อดี
  • เอฟเฟกต์พิเศษสำหรับวิดีโอที่สมบูรณ์แบบ
  • มากไปด้วยเครื่องมือและฟิลเตอร์
  • อินทิเกรตกับ Adobe Premiere ได้อย่างลงตัว
  • มีปลั๊กอินให้เลือกใช้มากมาย
ข้อเสีย
  • กินทรัพยากรระบบค่อนข้างมาก
  • ไม่ง่ายสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเภทของแรม (RAM) และ รอม (ROM)

1. จงบอกประเภทของแรม (RAM) 


แรมโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ




 อย่าง ที่ 1 Static Random Access Memory ( SRAM )


               คือ RAM ซึ่งเก็บรักษาข้อมูลบิตไว้ในหน่วยความจำของมันตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่เหมือนกับดีแรม (DRAM) ที่เก็บข้อมูลไว้ในเซลซึ่งประกอบขึ้นด้วยตัวเก็บประจุหรือคาปาซิเตอร์(Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor)


อย่างที่ 2. Dynamic Random Access Memory ( DRAM

          คือ RAM หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเต
ชั่น(Workstation) ลักษณะของ DRAM จะเป็นคล้ายกับเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์
ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ  ประเภทของ DRAM ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก 


2.1)  FPM DRAM


     เป็น RAM ชนิดที่ใช้กับ PC ในยุคเริ่มต้น โดยมีรูปแบบคือ SIMM (Single Inline Memory Modules)ปกติจะมีแบบSIMM ละ 2, 4, 8, 16 และ 32 MB โดยมีค่า refresh rate ของวงจรอยู่ที่ 60 และ 70 nana sec.โดยค่า refresh ที่น้อยกว่าจะความเร็วมากกว่า


2.2)  EDO DRAM


         เป็นชนิดที่ปรับปรุงมาจาก FPM โดยมีการปรับปรุงเรื่องการอ่านข้อมูล โดยทั่วไปแล้วการอ่านข้อมูลจาก RAM จะต้องระบุตำแหน่งแนวตั้ง และแนวนอนให้แก่วงจร RAM ถ้าเป็นชนิด FPM แล้วต้องระบุแนวใดแนวหนึ่งให้เสร็จเสียก่อนแล้วจึงระบุอีกแนวหนึ่ง แต่ EDO สามารถระบุค่าตำแหน่งในแนวตั้ง (CAS) และแนวนอน(RAS) ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกันได้


2.3)  SDRAM


            เป็น RAM ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดย 1 DIMMs จะมี 168 ขา และส่งข้อมูลได้ทีละ 64 บิต ทำให้ SDRAM แผงเดียวก็สามารถทำงานได้ เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของ SDRAM จะมีค่าประมาณ 6-12 n Secปัจจุบัน SDRAM สามารถทำงานได้ที่ความถี่ 66, 100 และ 133 MHz


  2.4)  RAMBUS


            พัฒนามาจาก DRAM แต่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในใหม่ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเข้าถึงข้อมูลภายใน RAM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้หลักการ “Pre-fetch” หรืออ่านข้อมูลล่วงหน้าโดยระหว่างนั้น CPU สามารถทำงานอื่นไปพร้อม  กันด้วย packet ของ RAMBUS จะเรียกว่า RIMMs (Rambus Inline Memory Modules)ซึ่งมี 184 ขา




 RAMBUS ทำงานกับไฟกระแสตรง 2.5 ภายใน 1 RIMMs (Rambus Inline Memory Modules)จะมีวงจรสำหรับควบคุมการหยุดจ่ายไฟแก่แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS ซึ่งยังไม่ถูกใช้งานขณะนั้น เพื่อช่วยให้ความร้อนของ RAMBUS ลดลง และวงจรดังกล่าวจะทำหน้าที่ลดความเร็วของ RAMBUS
 ลงหากพบว่าความร้อนของ RAMBUS ขณะนั้นสูงเกินไป


2.  จงบอกประเภทของรอม(ROM)


          คือหน่วยความจำชนิดหนึ่ง ที่มีโปรแกรม หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับ ไมโครโปรเซสเซอร์ได้โดยตรงซึ่งโปรแกรม หรือข้อมูลนั้นจะไม่สูญหายไป แม้ว่าจะไม่มีการจ่ายไฟเลี้ยงให้แก่ระบบ ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ROM จะสามารถอ่านออกมาได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลเข้าไปได้ เว้นแต่จะใช้วิธีการพิเศษซึ่งขึ้นกับชนิดของ ROM


 ชนิดของROM  Manual ROM


ROM (READ-ONLY MEMORY)


     ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน ROM จะถูกโปรแกรม โดยผู้ผลิต (โปรแกรม มาจากโรงงาน) เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และมีความต้องการใช้งาน เป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้ โดย ROM จะมีการใช้ technology ที่แตกต่างกันตัวอย่างเช่น BIPOLAR, CMOS, NMOS, PMOS




PROM (Programmable ROM)


PROM (PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)


            ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง (HIGH VOLTAGE PULSED)
 ทำให้ METAL STRIPS หรือ POLYCRYSTALINE SILICON ที่อยู่ในตัว IC ขาดออกจากกัน ทำให้เกิดเป็นลอจิก “1” หรือ “0” ตามตำแหน่ง ที่กำหนดในหน่วยความจำนั้นๆ เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก
 หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำ ที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ





EPROM (Erasable Programmable ROM)

  EPROM (ERASABLE PROGRAMMABLE READ-ONLY 

MEMORY)

          ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง (HIGH VOLTAGE SIGNAL) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM แต่ข้อมูลที่อยู่ใน EPROM เปลี่ยนแปลงได้ โดยการลบข้อมูลเดิมที่อยู่ในEPROM ออกก่อน แล้วค่อยเข้าโปรแกรมไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ทำได้ด้วย การฉายแสง อุลตร้าไวโอเลตเข้าไปในตัว  IC โดยผ่าน  ทางกระจกใส  ที่อยู่บนตัว IC เมื่อฉายแสง ครู่หนึ่ง (ประมาณ 510 นาที) ข้อมูลที่อยู่ภายใน ก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลาที่ฉายแสงนี้ สามารถดูได้จากข้อมูล ที่กำหนด   (DATA SHEET) มากับตัว EPROM และ มีความเหมาะสม ที่จะใช้
 เมื่องานของระบบ มีโอกาส ที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อมูลใหม่





EAROM (Electrically Alterable ROM)

   EAROM (ELECTRICALLY ALTERABLE READ-ONLY
 
MEMORY)

              EAROM หรืออีกชื่อหนึ่งว่า  EEPROM   (ELECTRICAL ERASABLE EPROM)  เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าในการลบข้อมูลใน ROM เพื่อเขียนใหม่ ซึ่งใช้เวลาสั้นกว่าของ EPROM
จะอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีแบบ NMOS ข้อมูลจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เหมือนใน  EPROM  แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ ข้อมูลของ EAROM สามารถลบได้โดยทางไฟฟ้าไม่ใช่โดยการฉายแสงแบบ EPROM
         การลบขึ้นอยู่กับพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ดังนั้น  EAROM (ELECTRICAL ALTERABLE ROM)


       โดยทั่วไปจะใช้ EPROM เพราะเราสามารถหามาใช้  และทดลองได้ง่าย มีราคาถูก วงจรต่อง่าย  ไม่ยุ่งยาก   และสามารถเปลี่ยนแปลงโปรแกรมได้ นอกจากระบบ ที่ทำเป็นการค้าจำนวนมาก จึงจะใช้ ROM ประเภทโปรแกรมสำเร็จ แสดงให้เห็นส่วนประกอบพื้นฐานของ ROM ซึ่งจะมีสัญญาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ROM และทุกชิปที่อยู่ใน ROM  มักมีการจัดแบ่งแยกหน้าที่เสมอ  เช่น ขาแอดเดรสของ ROM เป็นอินพุต ส่วนขาข้อมูลจะเป็นเอาต์พุต โดยหลักการแล้ว  ขาข้อมูลจะต่อเข้ากับบัสข้อมูลซึ่งเป็นบัส  2 ทาง  ดังนั้นเอาต์พุตของ  ROM ในส่วนขาข้อมูลนี้มักจะเป็นลอจิก 3 สถ
านะ ซึ่งถ้าไม่ใช้ก็จะอยู่ในสถานะ ที่มีอิมพีแดนซ์สูง (High Impedence)

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การทำงาน Google Translate



                     การทำงาน Google Translate

Google Translate   เครื่องมือแปลภาษาที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยสามารถแปลได้ตั้งแต่ข้อความที่เป็นประโยคไปจนถึงเอกสารทั้งหน้า หรือแม้แต่ทั้งเว็บไซต์ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า คุณผู้อ่านของ arip หลายคนคงอยากทราบว่า Google Translate มีการทำงานอย่างไร? ทำไมมันถึงได้เข้าใจภาษาต่างๆ และสามารถแปลออกมาได้ค่อนข้างถูกต้องในบางภาษา?

วัสถุประสงค์

1.         เพื่อแนะนำ Google Translate และฟังก์ชันต่างๆ ของ Google translate
2.         เพื่อให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้วิธีการใช้ Google Translat
3.         เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้ใช้ Google Translate ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ   ปัจจุบัน Google Translate กำลังทดสอบภาษาอื่นๆ ที่เรียกว่า "ภาษาทดสอบขั้นต้น" ซึ่งอาจมีคุณภาพการแปลน่าเชื่อถือน้อยกว่าภาษาที่สนับสนุนขณะนี้ ทาง google กำลังทำงานเพื่อสนับสนุนภาษาอื่นและจะเปิดตัวบริการในภาษาเหล่านี้ทันทีที่คุณภาพการแปลได้มาตรฐานตามที่ต้องการ

Google translate ทำงานอย่างไร
ในการทำงานของ Google Translate นั้น เมื่อเราสร้างคำที่ต้องการจะแปลลงไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลในเอกสารนับร้อยล้านฉบับ เพื่อเลือกคำแปลที่ดีที่สุดให้คุณ หลังจากตรวจพบคำแปลที่เหมาะสมแล้ว Google Translate จึงคาดเดาคำแปลที่เหมาะสมออกมา โดย กระบวนการค้นหารูปแบบในข้อความจำนวนมากนี้เรียกว่า "การแปลด้วยคอมพิวเตอร์โดยอาศัยสถิติ"
การใช้ Google Translate มีข้อบกพร่องหรือไม่
การใช้ประโยชน์จากสิ่งใดๆ นอกจากข้อดีมากมายแล้วทุกสิ่งย่อมมีข้อบกพร่องทั้งสิ้น รวมทั้ง Google Translate ก็เช่นกัน เนื่องจากคำแปลที่ได้มานั้นสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ จึงอาจไม่สมบูรณ์แบบเสมอไป ยิ่งมีเอกสารในภาษาหนึ่งๆ ที่แปลโดยมนุษย์มาให้ Google แปลเอกสารวิเคราะห์มากเท่าใด คุณภาพของการแปลก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น นี่เป็นเหตุผลว่าบางครั้งทำไมความถูกต้องของการแปลจึงแตกต่างกันไปในแต่ละภาษา รวมทั้งความสละสลวยในการเรียบเรียงถ้อยคำก็ยังต้องอาศัยการตรวจทานจากมนุษย์ช่วยด้วย
ตัวอย่างการแปลคำ
ต้องการแปลคำว่า “เภสัชศาสตร์จากภาษาไทย เป็นภาษาอิตาลี ก็พิมพ์ที่ต้องการแปลลงในกรอบ(ลูกศรชมพู)ก็จะได้เป็นคำว่า “Farmacia ” (ลูกศรสีเขียว) ซึ่งนอกจากจะแปลคำศัพท์ได้แล้ว ยังสามารถ ฟังการออกเสียงได้อีกด้วย



อธิบายให้เข้าใจด้วยภาษาง่าย ๆ ปุ่ม เมนูต่าง ๆ บน Google Plus
1 สตรีม (รูปบ้าน)
ก็คือหน้ารวมของทุกสิ่งอย่าง คุณจะสามารถเขียนแบ่งเรื่องใหม่ ๆ แชร์ลิงก์ ส่งภาพ เพิ่มวีดีโอคุณจะสามารถเห็นทุกความเคลื่อนไหวของผู้คนในแวดวงของคุณได้ทั้งหมด
ใครเขียนอะไร คุยกับใคร ใครกด +1 ให้ใคร รับทราบได้
2 รูปภาพจากแวดวง (รูปภาพภูเขา)
จะเก็บรวบรวมทุกรูปภาพจากทุกคนในแวดวงของคุณ จะมีรูปภาพให้คุณดูชมเยอะแยะเต็มไปหมด คุณสามารถเข้าถึงรูปภาพของตัวเอง รูปภาพจากโทรศัพท์มือถือได้จากที่นี่ พูดง่าย ๆอะไรที่เกี่ยวกับรูปภาพจะอยู่ตรงนี้
3 โปรไฟล์ (เงาคนในวงกลม)
จะเป็นหน้าส่วนตัวของคุณ สำหรับแนะนำตัว แสดงเพื่อนของคุณการพูดคุยสื่อสาร เก็บข้อมูลที่คุณแบ่งปัน รูปภาพ วีดีโอ ลิงก์ ฯลฯ คุณสามารถใช้โปรไฟล์ในการเผยแพร่ ส่งต่อ เพื่อให้คนรู้จักคุณผ่าน
4 แวดวง (วงกลมสีซ้อนกัน)
หน้านี้จะโชว์ภาพแทนตัวของคนทุกคนที่ติดต่อกับคุณ และคุณติดต่อกับเขา คนที่คุณเพิ่ม คนที่คุณเชิญ ใครเป็นใครทุกคนจะอยู่รวมกันในนี้หมด
คุณสามารถกำหนด และจัดกลุ่มความสัมพันธ์ได้ ด้วยการลากแต่ละคนมาอยู่ในวงกลมความสัมพันธ์ที่กำหนดไว้ โดยค่าเริ่มต้นที่มีมาให้จะมีดังนี้
Acquaintances (คนรู้จัก) ,Family(ครอบครัว),Following(ผู้ที่ติดตาม),Friends(เพื่อน)
และคุณสามารถเพิ่มวงกลมความสัมพันธ์ได้ได้เองตามใจชอบ
คนที่คุณลากมาอยู่ในแต่ละวงกลม ก็เหมือนคนละกลุ่มกัน การเข้าถึงข้อมูล การพูดคุย
แลกเปลี่ยน หรือ สิ่งที่แชร์ก็จะเป็นเฉพาะกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะเห็นไม่เหมือนกัน
คนในวงกลมครอบครัว จะไม่รู้ไม่เห็นว่า คนในวงกลมเพื่อนคุยอะไร แชร์อะไรกันหรือวงกลมคนรู้จักคุณกำหนดให้เห็นข้อมูลส่วนตัวของคุณแบบผิวเผิน ในขณะที่วงกลมเพื่อนคุณกำหนดให้เห็นข้อมูลของคุณทุกอย่างที่ต้องการแสดงทั้งหมดตั้งค่าปรับแต่ง ตามรูปแบบความเป็นส่วนตัวของคุณได้
5 รูปภาพแทนตัวของคุณ (เปลี่ยนได้ตามใจชอบ) เพื่อความเป็น Social Network ส่วนใหญ่นิยมใช้รูปตัวจริงเสียงจริงกัน
6 ส่วนแสดงข้อมูลรวม (อ่านรายละเอียดข้อ 1)
7 สตรีมข้อมูล ข่าวสาร การแชร์ แบ่งตามวงกลมความสัมพันธ์ (แวดวง) ที่คุณจัดไว้ ซึ่งข้อมูลจะแสดงไม่เหมือนกันในแต่ละกลุ่มแวดวง (อ่านรายละเอียดข้อ 4)
8 ถ้าคุณติดตั้งส่วนเสริมต่าง ๆ จะแสดงปุ่มส่วนเสริมตรงนี้ ในภาพมีการติดตั้งส่วนเสริม
สำหรับเล่น Facebook บน Google Plus ก็เลยมี ปุ่ม Facebook ด้วย
9 กูเกิล พลัส จะแนะนำเพื่อน ๆ คนอื่น ๆ ให้คุณรู้จัก ถ้าคุณอยากรู้จักใครก็สามารถเพิ่มไว้ในแวดวงของคุณได้
10 แสดงเพื่อนในแวดวงทั้งหมดของคุณ พร้อมบอกจำนวนว่ามีกี่คน (สุ่มโชว์ครั้งละ 14 คน)
11 แจ้งเตือน ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ใครพูดคุยอะไรกับคุณ กับใคร ใครแบ่งปัน ตอแชร์อะไร เมื่อมีความเคลื่อนไหวจะแจ้งเตือนตลอดเวลา
12 เนื้อหาสาระดี ๆ ที่กูเกิลรวบรวมไว้ให้อ่านเล่น แบ่งตามหมวดหมู่ความสนใจ
13 ใช้ในการค้นหาผู้คนใน Google Plus
14 กลุ่มไอคอนที่ใช้ในการแบ่งปัน รูปภาพ วีดีโอ ลิงก์ ฯ

ข้อดี Google Plus คือ เราไม่จำเป็นต้องแชร์ทุกสิ่งอย่าง กับทุกคนที่เรารู้จักเราสามารถเลือกได้ว่าจะแชร์อะไรให้ใครบ้าง นี่อาจเป็นข้อดีประการหนึ่ง เพราะในชีวิตจริง คนบางคนบางกลุ่มคุณก็คุยด้วยอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งก็คุยอีกอย่างหนึ่ง  ภาพบางภาพคุณไม่อาจให้คนนี้ดูได้ ในขณะที่อีกคนในอีกลุ่มคุณอยากให้ดูให้เห็น


ข้อเสียของ Google Plus

- ไม่สามารถแชร์หรือฝากข้อความเฉพาะคนได้ คือเข้าไปใน
profile ของเพื่อนสักคนนึง ไม่มีช่องให้แชร์ เพราะช่อง แชร์ไปอยู่ขวามุมบนสุด เกือบหาไม่เจอ
- ไม่มีกล่องข้อความหาเพื่อน เหมือน
facebook - ตอนส่ง invite ตอนนี้ถ้าได้ listmail มาต้องส่งทีละเมล์ วางทีเดียวไม่ได้ (หมายถึงตอน add)

จุดเด่น Google Plus คือ สามารถเลือกคนที่เรายากจะคุยได้ การใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก 


โปรแกรมที่คล้ายกับ Google Plus คือ Facebook , Twitter ข้อแตกต่างกัน Facebook และ Twitter เป็นที่นิยมของคนกลุ่มใหญ่ สามารถมองเห็นอีกฝ่ายได้ และคุยแชท แชร์ ทางโทรศัพท์มือถือได้ การใช้งานง่ายคล้ายกัน ในปัจจุบัน FaceBook หรือ Twitterเป็นสิ่งที่นิยมกันมากในหมู่วัยรุ่นและบุคคลที่ต้องการสื่อสารสัมพันธ์กัน แม้ว่า FacBook จะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สามารถติดต่อสัมพันธ์กันในทางบวก แต่จากการศึกษาพบว่าในทางกลับกันFaceBookก็สามารถเป็นสื่อที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ในเวลาเดียวกัน FaceBook เป็นซอฟท์แวร์ในการสร้างเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้สามารถใส่ข้อมูลต่างๆที่ต้องการ หรือใส่ความสนใจที่ชอบ จากนั้นระบบจะค้นหาผู้ที่มีความสนใจในลักษณะเดียวกัน และผู้ใช้สามารถเพิ่มหรือลบในการเชื่อมต่อไปหาผู้ใช้อื่นๆได้ 



วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โปรเซสเซอร์


 โปรเซสเซอร์
               ปี 1989 Intel ประกาศตัว 80486 ซึ่งเป็นซีพียูแบบ 32 บิต พร้อมเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่า ”ไปป์ไลน์” (Pipeline)ไปป์ไลน์ช่วยให้ซีพียูสามารถเฟ็ตช์คำสั่งเข้ามาทำงานได้หลาย ๆ คำสั่งในเวลาเดียวกันได้ โดยเอ็กซิคิวต์ ในแต่ละคำสั่งในแต่ละสัญญาณนาฬิกา (Clockcycle) เรียกการทำงานแบบนี้ว่า “สเกลลาร์(Scalar)ปี 1993 ได้เปิดตัวซีพียูในยุคที่ 5 ที่เรียกว่า “Pentium” โดยนำไปป์ไลน์มาใส่ไว้ในซีพียูถึง 2 ตัวทำงานแบบขนานพร้อม ๆ กัน โดยไม่ขึ้นต่อ

องค์ประกอบซีพียู



 Pipeline
       ไปป์ไลน์ (Pipeline) คือการทำงานแบบคาบเกี่ยวกัน (overlap) โดยการแบ่งซีพียูออกเป็นส่วนย่อย
แล้วแบ่งงานกันรับผิดชอบเดิมไปป์ไลน์เป็นเทคนิคของสถาปัตยกรรมแบบRISC ต่อมานำมาใช้กับ
สถาปัตยกรรมแบบ CISCแบ่งเป็นภาคหลัก ๆ คือ ภาคเฟ็ตช์คำสั่ง (Instruction Fetch)
ภาคการถอดรหัสคำสั่ง (Instruction Decode)
ภาครับข้อมูล (Get Operands)
ภาคเอ็กซิคิวต์ (Execute)
ภาคเขียนผลลัพธ์ (Write Result)
ขั้นตอนการทำงานของ Pipeline 

 
โครงส้รางของระบบคอมพิวเตอร์(COMPUTERSYSTEMSTRUCTURE)
 ราสามารถแบ่งโครงสร้างหลัก ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
 
หน่วยประมวลผลกลางเราสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก 2 ส่วนคือ  

หน่วยควบคุม ( control unit ) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ในระบบทั้งหมด
ให้มีการทำหน้าที่ให้ถูกต้อง 
หน่วยคำนวณ ( arithmetic logic unit ) มีหน้าที่ในการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์เช่น บวก ลบ คูณ 
หาร และงานทางด้านตรรกศาสตร์ 



การจัดการโปรเซสเซอร์  

       โปรเซสเซอร์เป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งของระบบ ในบางระบบมีโปรเซสเซอร์

อยู่เพียงตัวเดียวคือซีพียู แต่ในบางระบบก็มี โปรเซสเซอร์หลายตัวช่วยซีพียูทำงานเช่น โปรเซสเซอร์
ช่วยงานคำนวณ ( math-coprocessor ) และ โปรเซสเซอร์ควบคุมอินพุต-เอาต์พุต เป็นต้น เนื่องจาก 
โปรเซสเซอร์มีราคาแพงมากเราจึงควรจัดการให้มีการใช้งานโปรเซสเซอร์ ให้คุ้มค่าที่สุด โดยพยายาม
ให้มันทำงานอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะสั้น ก็คงต้องกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะยาวด้วย